วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4
ให้นักศึกษา ไปค้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3 โปรแกรม ต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างที่เกิดจากงานโปรแกรมนั้นๆมาด้วย

ตอบ  ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไปซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งานคือ


 1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันคือสามารถช่วยตรวจสอบตัวสะกดในเอกสารที่พิมพ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งในรูปแบบของคำหรือไวยากรณ์ หากพิมพ์ผิดโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย เช่น มีการขีดเส้นใต้สีแดงใต้คำที่พิมพ์ผิด และจะมีคำที่ถูกต้องให้เลือกว่าต้องการคำไหน ความสามารถนี้สืบเนื่องมาจากมีการผนวกซอฟต์แวร์ทางด้านภาษาเช่น พจนานุกรม เข้ากับซอฟต์แวร์ด้วย แต่หากเป็นชื่อเฉพาะผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มชื่อเฉพาะเข้าไปได้เพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์รายงานความผิดพลาด ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถสรุปหรือย่อเนื้อหาในสัดส่วนที่ต้องการได้ เช่นสรุปเนื้อหาจากเอกสาร 10 หน้าให้เหลือ 2 หน้า และปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
หน้าต่างการใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์ประมวลคำไมโครซอฟต์เวิร์ด
 
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หากผู้ใช้ต้องการสร้างคำสั่งหรือสูตรเองก็สามารถดำเนินการได้ และสามารถสร้างคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า มาโคร ในการใช้งานเฉพาะได้ นอกจากนี้โปรแกรมตารางทำงานยังสามารถสร้างกราฟ แผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้น และอื่นๆ
          ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซล โลตัส123 และซอฟต์แวร์ตารางทำงานของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          การใช้งานโปรแกรมตารางทำงานจะอ้างถึงสดมภ์และแถว กล่าวคือข้อมูลหรือการคำนวณต่างๆ จะใส่ไว้ในเซลซึ่งเกิดจากสดมภ์และแถว โดยตำแหน่งของแต่ละเซลจะถูกกำหนดด้วย หมายเลขของสดมภ์และแถว เช่น จากรูปด้านล่าง ข้อความ สสวท อยู่ในเซล แสดงว่า ตำแหน่งเซลนี้อยู่สดมภ์ที่ B และแถวที่ 5

                                     
                               ตัวอย่างของการอ้างตำแหน่งจากเซลสดมภ์และแถว
            
                                                  
                                     

                   หน้าต่างใช้งานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
  
 ซอฟต์แวร์ตารางทำงานของไมโครซอฟต์เอกเซล
   การคำนวณของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนั้นสามารถคำนวณได้ทั้งในแนวของแถว สดมภ์ หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ จากตารางข้างล่าง แสดงตัวอย่างฟังก์ชันการคำนวณที่ซอฟต์แวร์สนับสนุน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไปสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่หลายหมวดหมู่ เช่น ฟังก์ชันทางสถิติ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฐานข้อมูล และอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนมาโครเพิ่มเติม ตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และผลรวม
                         ตาราง ตัวอย่างสูตรและฟังก์ชันการคำนวณในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน      
                                                                        การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน จากตัวอย่างที่ 5 ในตารางที่ 5.1 จะทำการนำค่า B3 มาคูณกับ C4 แล้วบวกกับ A2 ต่อจากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ลบออกด้วยค่า D5 การเป็นเช่นนี้ เป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ให้ตัวดำเนินการคูณและหารดำเนินการก่อนตัวดำเนินการบวกและลบ ดังนั้นการกำหนดสูตรจึงต้องมีความชัดเจน การใส่เครื่องหมายวงเล็บจะป้องกันความสับสน ดังนั้น =A2+B3*C4-D5 สามารถเขียนใหม่ได้เป็น =A2+(B3*C4)-D5 ซึ่งจะทำให้ชัดเจนมากขึ้น
          ค่าต่างๆ ที่อยู่ในเซลของตารางทำงานนั้นสามารถกำหนดชนิดของข้อมูลได้เช่นตัวอักษร จำนวนเต็ม จำนวนจริง วันเดือนปี เวลา เปอร์เซ็นต์ และอัตราค่าเงินของประเทศต่างๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ตารางทำงานช่วยคำนวณรายการต่างๆ เช่น คำนวณภาษี รายรับรายจ่าย และประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน เป็นต้น
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน การสร้างรายงานผล หรือสรุปผลของข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานทั้งหลายได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้
          ในซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บเป็นตารางความสัมพันธ์ (relation) ซึ่งในฐานข้อมูลหนึ่งๆ จะมีตารางความสัมพันธ์ได้หลายตาราง และในแต่ละตารางความสัมพันธ์ก็จะมีได้หลายลักษณะประจำ ( attribute ) ในการสร้างลักษณะประจำนั้นจะมีการกำหนดชนิดของลักษณะประจำ และกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เช่น รูปแบบ และความยาวของเขตข้อมูล เป็นต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องกำหนดลักษณะประจำ 1 ตัวให้เป็นเขตกุญแจหลัก (primary key) ของตารางความสัมพันธ์ด้วย เมื่อกำหนดลักษณะประจำในตารางความสัมพันธ์แล้ว ก็จะสามารถเติมข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลในแต่ละแถวของตารางความสัมพันธ์ เราเรียกว่า เอนทิตี้ (entity)
          นอกจากนั้นซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลยังมีในส่วนของพจนานุกรมข้อมูล ซึ่งจะบอกรายละเอียดของตารางความสัมพันธ์ เช่นบอกชื่อตารางความสัมพันธ์ จำนวน รายชื่อคุณลักษณะประจำ และเขตกุญแจหลัก เราสามารถสร้างดัชนีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล โดยประกอบด้วยข้อมูลที่แสดงตำแหน่งของข้อมูลจากค่าที่กำหนด และยังสามารถกำหนดความสัมพันธ์ของตารางข้อมูล สร้างรายงาน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โครงสร้างและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลบางซอฟต์แวร์ก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลที่สร้างจากซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลอื่นได้
 

                                        


หน้าต่างการใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของไมโครซอฟต์แอกเซส


ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น ไมโครซอฟต์แอกเซส ดีเบส และ ฟอกซ์เบส นอกจากนี้ยังมีระบบจัดการฐานข้อมูลบนระบบปฏิบัติการอื่น เช่น บนระบบลีนุกซ์มีซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นโปรแกรมที่ใช้ฟรี เช่น มายเอสคิวแอล, โพสเกรส เอสคิวแอล, พีคิวแอล หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นซอฟต์แวร์การค้า เช่น ดีบีทู, อินฟอร์มิก, อินเกรส, ออราเคิล และไซเบส เป็นต้น
http://it.benchama.ac.th/ebook3/page/Lesson5_5_3.htm
http://it.benchama.ac.th/ebook3/page/Lesson5_5_4.htm
http://it.benchama.ac.th/ebook3/page/Lesson5_5_5.htm

เขียนโดย ratree.chung@gmail.com ที่ 05:26 ไม่มีความคิดเห็น:
Assignment 3
ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบ
อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป


Input คือ
1.หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา ม.4-ม.6
2. ตัวอย่างสื่อประกอบการสอน
3. เอกสารเพิ่มเติมสำหรับครู 


Process คือ
อธิบายการตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนาได้
2. วิเคราะห์พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด
3. อธิบายวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าได้
4. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาได้
5. อธิบายการบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาได้
เช่น
ครูนำภาพสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง มาให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า สังเวชนียสถานทั้ง 4  มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอย่างไรบ้าง               
2. ครูเลือกภาพ มหาโพธิเจดีย์ที่พุทธคยา ซึ่งเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถาน 4 มาให้นักเรียนดูพร้อมทั้งอธิบายให้นักเรียนทราบความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ว่า เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
3. ให้นักเรียนร่วมกันตอบว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น เรียกว่าอะไร และประกอบด้วยหลักธรรมข้อไหนบ้าง โดยครูเป็นผู้ช่วยสรุปและอธิบายให้นักเรียนทราบว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น คือ สัจธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐ 4ประการ ที่เรียกว่าอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
4. ครูนำภาพ เนกขัมมสถูปที่เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นสังเวชนียสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนามาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ ปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรกนั้น มีชื่อว่าอะไร และมีเนื้อหาสำคัญอย่างไร
5. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดแก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศและก่อตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้


Output คือ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.1
 ใบงานที่ 1.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.2
 ใบงานที่ 1.2
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.3
 ใบงานที่ 1.3
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.4
 ใบงานที่ 1.4
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์



 ที่มาพุทธประวัติและชาดก :http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=1

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2

การผลิตน้ำตาลทราย จัดว่าเป็น system หรือไม่
1.การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่  ? ถ้าเป็น อธิบายตามองค์ประกอบของระบบ
          การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System (ระบบ)  เพราะลักษณะการผลิตน้ำตาลทรายดังกล่าว 

จะเป็นขั้นเป็นตอนและแบ่งแยกแต่ละองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน ตามองค์ประกอบของระบบคือ Input > Processor > Output กล่าวคือ มีปัจจัยหน้าที่และสามารถเข้าสู้กระบวนการซึ่งให้ได้ออกมาเป็นผลลัพธ์
ลักษณะของการผลิตน้ำตาลทรายตามองค์ประกอบของระบบ
1. ขั้นนำเข้าหรือ Input ซึ่งได้แก่ อ้อย ที่เป็นวัตถุดิบหลักที่สามารถให้ความหวานได้
2. ขั้นประมวลผลหรือ Processor ซึ่งหมายถึง การนำเอาอ้อยที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การ นำอ้อยมาบดเพื่อเอาเฉพาะน้ำอ้อย แล้วจึงนำไปเข้าสู้หม้อต้ม หม้อปั่นและหม้อกรอง ตลอดจนถึง ขั้นตอนของการบรรจุใส่ภาชนะที่กำหนด ซึ่งที่กล่าวมาล้วนแต่มีขั้นมีตอนและเป็นกระบวนการ ซึ่งอาจจะมีองค์ประกอบส่วนเสริมเข้ามาคือ "การปรับ (Adjust)" และ"การควบคุม (Control)" ซึ่งจัดอยู่ในขั้นตอนของการผลิต และหากเกิดปัญหาระหว่างการผลิตก็จะมีผลแจ้งเตือนว่าขั้นตอนนั้นผิดพลาด นั่นก็คือ "Feedback" 
3.ขั้นที่ออกมาเป็นผลลัพธ์หรือ Output ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย


http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html